คำมั่นสัญญาแห่งสุขภาพ

ข่าว

แอมโมเนีย คืออะไร? อันตรายจริงหรือ?

12.11.2021

แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย ธาตุไนโตรเจน (N)  1 อะตอม และไฮโดรเจน (H) 3 อะตอม มีสูตรทางเคมี คือ NH3  แอมโมเนีย ถือเป็นก๊าซ เป็นพิษ  และกัดกร่อน วัสดุบางชนิด  มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ซึ่งเราสามารถสัมผัส กลิ่นแอมโมเนียได้หากมีความเข้มข้นมากกว่า 5 ppm ถ้าหายใจเข้าไปเพียงเล็กน้อย จะทำให้น้ำตาไหล ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจอย่างแรง ทำให้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ง่าย

คุณสมบัติทางเคมี และปฏิกิริยาเคมี

       -  สารแอมโมเนีย มีฤทธิ์กัดกร่อน และเป็นด่างสูง ความเข้มข้น 1.0 N จะมี pH 11.6 และสารละลายแอมโมเนียความเข้มข้น 0.1 N จะมี pH 11.1

       - เกิดการสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน พร้อมเกิดละอองฟูมกัดกร่อน (Corrosive fume of ammonia) และก๊าซพิษออกไซด์ของไนโตรเจน

       -สามารถติดไฟได้เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดไนตริก และระเบิดได้ในที่อับอากาศเมื่อมีการติดไฟ

       -สามารถทำปฏิกิริยากับยาง พลาสติก และสารเคลือบผิว ทำให้เกิดบูดบวม และหมดสภาพสารได้

       -สามารถทำปฏิกิริยากัดกร่อนโลหะตะกั่ว ดีบุก ทองแดง อลูมิเนียม หรือโลหะผสมทองแดง เช่น ทองเหลือง สังกะสี หรือเหล็ก ได้

       -สามารถทำปฏิกิริยากับสารออกซิไดซ์ สารประกอบที่มีธาตุหมู่ฮาโลเจน เช่น เงิน ปรอท โบรอน  ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม แคลเซียม ทำให้เกิดการลุกไหม้ และระเบิดรุนแรง

ประโยชน์ของสารแอมโมเนีย

       -นิยมใช้สำหรับการทำความเย็น ซึ่งมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับสารอื่น ๆ

       -นำมาใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมย้อมผ้า ยา เส้นใยสังเคราะห์ พลาสติก ปุ๋ย วัตถุระเบิด อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง โรงกลั่นน้ำมัน และไอศกรีม

       -นิยมในวงการแพทย์สำหรับสูดดม ช่วยอาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียนศรีษะ

พิษของ สารแอมโมเนีย

พิษต่อสิ่งแวดล้อม หากมีการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้ค่าความเป็น กรด-ด่าง (pH) ของน้ำสูงขึ้น ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ลดลง ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง หรือหากมีการปนเปื้อนในอากาศ จะเปลี่ยนเป็นสารประกอบ กลุ่มไนโตรเจน NOx และละอองไอแอมโมเนีย มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะได้

พิษต่อ สัตว์ และสัตว์น้ำ แอมโมเนียที่พบในแหล่งน้ำจะเกิดจากการย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจน  ปุ๋ย และเศษอาหาร จนกลายเป็นแอมโมเนียอิสระ (NH3) และเมื่อสัตว์น้ำสัมผัสกับแอมโมเนียอิสระ 1 ถึง 2 มิลลิกรัม/ลิตร นาน 1 ชั่วโมง มักทำให้สัตว์น้ำตายอย่างเฉียบพลัน  เนื่องจากระดับแอมโมเนียในกระแสเลือด และเนื้อเยื่อสูงขึ้น ทำให้ค่าความเป็น กรด-ด่าง ในเลือดจึงสูงขึ้น ส่งผลต่อปฏิกิริยาชีวเคมีทำงานผิดปกติ  ลดความสามารถในการลำเลียงออกซิเจน และทำให้เสียชีวิตในที่สุด

พิษต่อสุขภาพ แอมโมเนียมีฤทธิ์กัดกร่อน และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังที่สัมผัส การสัมผัสกับแอมโมเนียเข้มข้นทำให้เกิดเวียนศีรษะ ตาลาย และเกิดอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงการสูดดมเข้าระบบทางเดินหายใจจะทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อ มีอาการแสบร้อนหากสูดดมเพียงเล็กน้อยจะทำให้น้ำตาไหล แต่หากสูดดมมากจะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เสี่ยงต่อหัวใจวายได้ง่าย

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าแอมโมเนียมีทั้งประโยชน์และโทษ ผู้ปฏิบัติติงานควรหมั่นตรวจสอบปริมาณแอมโมเนียในสถานที่ทำงานอยู่สม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติติงาน โรงงาน และสิ่งแวดล้อม โดยผู้ปฏิบัติติงานสามารถตรวจวัดปริมาณแอมโมเนียอย่างง่ายและรวดเร็ว โดยการใช้ อุปกรณ์ Gastec Gas Sampling pump รวมกับ Ammonia Detector Tube ที่มีช่วงความเข้มข้นที่หลากหลายตั้งแต่ 0.5 ppm – 32% ppm

ข้อมูลอ้างอิง : maromothai.com/article/มารู้จัก-แอมโมเนีย-คือ/